ชวนรู้จัก ภาวะเงินเฟ้อ คืออะไร ส่งผลยังไงกับเงินในกระเป๋า?

เมื่อไม่นานสภาวะเศรษฐกิจค่อนข้างน่ากังวล เมื่อธนาคารแห่งประเทศไทย ได้ประกาศถึงวิกฤตเศรษฐกิจเกี่ยวกับภาวะเงินเฟ้อที่มีอัตราเพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่องส่งผลกระทบต่อมิติของเศรษฐกิจและการลงทุนทั่วโลก อาจจะดูเป็นเรื่องใหญ่ไกลตัวแต่ แต่จริง ๆ ส่งผลกระทบต่อเงินในกระเป๋าของเราเต็ม ๆ การเข้าใจ ภาวะเงินเฟ้อ เงินฝืด คืออะไร ซึ่งเป็นสิ่งที่ไม่ควรมองข้าม วันนี้เราจึงอยากพามาทำความเข้าใจกันภาวะเงินเฟ้อ หรือเงินฝืด ต่างกันอย่างไร ส่งผลกับเรายังไงบ้างและมีแนวทางในการรับมือยังไง ไปดูกัน

ภาวะเงินเฟ้อ เงินฝืด
เงินเฟ้อ เงินฝืด

ทำความเข้าใจ ภาวะเงินเฟ้อ เงินฝืด คืออะไร ?

เริ่มกันที่การทำความเข้าใจเกี่ยวกับภาวะเงินเฟ้อ เงินฝืด คืออะไร มีสาเหตุจากอะไรพร้อมตัวอย่าง

ภาวะเงินเฟ้อ(Inflation) คือ ภาวะที่ราคาสินค้าและบริการโดยทั่วไปเพิ่มสูงขึ้นเรื่อย ๆ เนื่องจากปริมาณสินค้าและบริการต่างๆ ที่ผลิตออกมามีน้อยกว่า ความต้องการซื้อสินค้าของคนในประเทศ ซึ่งหากเงินเฟ้อเพิ่มขึ้นมากจะกระทบต่อฐานะและความเป็นอยู่ของเรา

ตัวอย่าง เมื่อก่อนเงิน 100 บาทเราสามารถซื้อข้าวราดแกงได้ 4 จาน แต่ด้วยเงินเฟ้อ ทำให้ข้าวของ วัตถุดิบต่าง ๆ แพงขึ้น เงิน 100 บาทของเราสามารถซื้อข้าวแกงเจ้าเดิมได้เพียง 2 จาน ในปัจจุบัน

สาเหตุ

  1. ความต้องการซื้อสินค้าและบริการเพิ่มขึ้น แต่สินค้าและบริการไม่เพียงพอทำให้ต้องปรับราคาเพิ่มสูงขึ้น
  2. ต้นทุนการผลิตเพิ่ม ผู้ผลิตไม่สามารถแบกรับภาระต้นทุนที่สูงขึ้นได้จึงจำเป็นต้องปรับราคาสินค้าและบริการให้สูงขึ้น

เงินฝืด(Deflation) คือ ภาวะที่ความต้องการสินค้าและบริการลดลงเนื่องจากความไม่มั่นคงทางเศรษฐกิจทำให้ราคาสินค้าและบริการโดยรวมลดลงอย่างต่อเนื่อง

ตัวอย่าง เมื่อก่อนเราเคยซื้อมังคุดในราคากิโลกรัมละ 60 บาท เมื่อเกิดเงินฝืดผู้ผลิตลดราคาสินค้าลงมาเหลือกิโลกรัมละ 40 บาทเพื่อให้มังคุดสามารถขายได้ง่ายขึ้น

สาเหตุ

  1. ความเชื่อมั่นของผู้ซื้อลดลง ไม่กล้าใช้เงินเนื่องจากมีปัจจัยเข้ามากระทบ อาทิเช่น ภัยธรรมชาติ หรือแนวโน้มของเศรษฐกิจที่หดตัวอย่างต่อเนื่อง
  2. ปริมาณเงินในระบบเศรษฐกิจที่ไม่เพียงพอ เช่น เงินตราในประเทศไหลออกนอกประเทศมากเกินไป

เงินเฟ้อ เงินฝืด ส่งผลกระทบยังไงกับประชาชน

ทราบกันไปแล้วว่า ภาวะเงินเฟ้อ เงินฝืด คืออะไร ต่อมาจะพูดถึงส่งผลกระทบที่เกิดขึ้นจากภาวะเงินเฟ้อ ซึ่งส่งผลต่อหลายภาคส่วนทั้งระดับประชาชน ผู้ประกอบการ ไปจนถึงระบบเศรษฐกิจทั่วโลก

ผลกระทบของภาวะเงินเฟ้อ

  1. เมื่อประชาชนมีซื้อของน้อยลง ผู้ผลิตก็ไม่สามารถขายกันเองได้ทำให้ลดการลงทุนในการผลิตซึ่งทำให้การพัฒนาประเทศในระยะยาวอาจชะลอตามไปด้วยและอาจส่งผลกระทบจากภาวะหนี้ครัวเรือนที่เพิ่มสูงขึ้น
  2. เมื่อต้นทุนการผลิตสูงขึ้นจึงต้องปรับราคาสินค้าซึ่งส่งผลให้ขายได้น้อยลง ในผู้ประกอบการบางรายจึงจำเป็นต้องชะลอการผลิต ลดต้นทุนและการจ้างงานทำให้มีคนตกงานเพิ่มขึ้น นอกจากนี้ยังส่งผลต่อความสามารถในการแข่งทางธุรกิจในการส่งผลเนื่องจากราคาสินค้าสูงขึ้นเมื่อเทียบกับประเทศอื่น ๆ
  3. รายจ่ายและค่าครองชีพสูงขึ้น แต่อำนาจในการซื้อลดลงซึ่งอาจส่งผลให้รายได้ที่ไม่เพียงพอต่อค่ายังชีพและอาจได้รับผลกระทบจากการเลิกจ้างของผู้ประกอบเนื่องจากต้องการลดต้นทุน

ผลกระทบของภาวะเงินฝืด

  1. หากสินค้าลดราคาอย่างต่อเนื่องและความต้องการของประชาชนลดลง คนไม่ซื้อ ผู้ผลิตก็ขายสินค้าไม่ได้ซึ่งหากปล่อยไว้เป็นเวลานานก็จะกระทบทั้งการจ้างงานและการผลิตแบบไม่รู้จบจนทำให้เกิดภาวะเศรษฐกิจตกต่ำซึ่งส่งผลต่อเสียต่อเศรษฐกิจประเทศ
  2. ต้นทุนการผลิตเท่าเดิม แต่ต้องลดราคาสินค้าเพื่อให้ขายได้และลดการผลิตเนื่องจากความต้องการลดลงทำให้อัตราการจ้างลดลงตามไป
  3. อัตราการว่างงานสูงขึ้นเนื่องจากผู้ประกอบการผลิตและขายสินค้าบริการได้ลดลงทำให้ต้องลดอัตราการผลิตและลดจำนวนพนักงานเพื่อประคองธุรกิจให้อยู่รอด ทำให้ประชาชนมีโอกาสว่างงานสูงขึ้นมาก

แนวทางการแก้ปัญหาโดยรัฐบาลและสถาบันการเงิน

ในสภาวะเงินฝืด เงินเฟ้อ สถาบันการเงินทั่วโลกจะออกมาตรการเพื่อเป็นแนวทางในการนำมาใช้ปัญหา รวมถึงสถาบันการเงินในบ้านเราเอง โดยทั่วไปจะมีวิธีการแก้ปัญหา แบ่งออกเป็น 2 นโยบาย ดังนี้

  1. ใช้นโยบายทางการเงิน คือ มาตรการที่ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท) ที่นำมาใช้ในการควบคุมปริมาณเงินในระบบเศรษฐกิจ ได้แก่
  • เพิ่มอัตราเงินสดสำรองตามกฎหมายเพื่อเพิ่มปริมาณเงินที่นำไปใช้ให้ประชาชนกู้ยืมได้น้อยลงเงินฝืด: ลดอัตราเงินสดสำรองตามกฎหมายโดยให้ธนาคารนำเงินฝากส่วนเงินไปให้ประชาชนกู้เพิ่มได้มากขึ้น
  • เพิ่มอัตราดอกเบี้ยเงินเฟ้อ เพื่อจูงใจให้เกิดการออมเงินมากขึ้น
  • ลดปริมาณการให้สินเชื่อลดลง แต่เพิ่มอัตราดอกเบี้ยกู้เงินให้สูงขึ้น

2. ใช้นโยบายทางการคลัง คือ วิธีการในการจัดการรายได้และรายจ่ายของภาครัฐเพื่อนำมาควบคุมภาวะเงินฝืดและเงินเฟ้อควบคุมรายจ่ายของรัฐบาลเงินเฟ้อ: ลดรายจ่ายต่าง ๆ เพื่อให้เงินออกมาหมุนเวียนในระบบเศรษฐกิจได้น้อยลง

  • การจัดเก็บภาษีเงินเฟ้อ หากประชาชนมีรายได้มากเกินไป รัฐบาลจะจัดเก็บภาษีด้านต่าง ๆ ให้สูงขึ้น
  • ลดรายจ่ายต่าง ๆ เพื่อให้เงินออกมาหมุนเวียนในระบบเศรษฐกิจได้น้อยลง
เงินเฟ้อ

หากใครยังสับสนให้จำง่าย ๆ ว่า เงินฝืดเราจะซื้อราคาในสินค้าที่ถูกลง แต่เงินเฟ้อเราจะซื้อสินค้าในราคาที่แพงขึ้น ซึ่งเมื่อเกิดปัญหา รัฐบาลและสถาบันการเงินทั่วโลกก็จะมีนโยบายออกมาเพื่อบรรเทาปัญหา เพื่อสมดุลก็ทำให้เศรษฐกิจขับเคลื่อนต่อไปอย่างมีประสิทธิภาพ

แต่ถึงอย่างนั้น ก็มีระยะเวลาที่ต้องใช้ในการให้เศรษฐกิจปรับตัว เราจึงต้องมีการจัดการการเงินเพื่อรับมือกับปัญหานี้ด้วยตัวเองก่อน ไม่ว่าจะเป็นวางแผนการเงินให้ดี จำกัดค่าใช้จ่ายและออมเงินมากขึ้น เตรียมเงินทุนสำรอง ไปจนถึงลงทุนที่มีผลตอบแทนที่สามารถชดเชยอัตราเงินเฟ้อได้

อ่านเพิ่มเติมเกี่ยวกับ ลงทุนอะไร ให้ชนะเงินเฟ้อ ที่นี่