เชื่อว่าหลายคนที่เป็นมือใหม่เพิ่งเริ่มต้นลงทุนหุ้นมันจะมีคำถามขึ้นมาในหัวมากมาย หนึ่งในนั้นก็คือ จะไปเปิดพอร์ตหุ้นที่ไหนดี ? เพราะปฏิเสธไม่ได้ว่าทุกวันนี้มีโบรกเกอร์ให้เราเลือกมาใหม่เต็มไปหมด ซึ่งแต่ละที่ก็มีข้อเสนอดี ๆ ยื่นให้กับผู้ใช้บริการแตกต่างกันไป เป็นธรรมดาที่หลายคนอาจจะเลือกไม่ถูก
สำหรับใครที่กำลังจะเปิดพอร์ตหุ้นแต่ไม่รู้จะไปเปิดพอร์ตที่ไหนดี หมดกังวลได้เลย เพราะในบทความนี้เราคัดเลือก 7 โบรกเกอร์ ยอดนิยม รวมถึงวิธีการเลือกโบรกเกอร์มาให้ทุกคนได้นำไปพิจารณาประกอบการตัดสินใจ เลือกโบรกเกอร์ที่ใช่กันได้เลย
วิธีเลือกโบรกเกอร์ให้ตอบโจทย์
เชื่อว่าหลายคนที่เป็นนักลงทุนมือใหม่อาจจะไม่ได้ให้ความสนใจในการเลือกโบรกเกอร์มากนัก แต่จริง ๆ แล้วในแต่ละโบรกเกอร์จะมีจุดเด่นและสิทธิประโยชน์ต่าง ๆ ที่มอบให้กับผู้ใช้บริการที่แตกต่างกันไป ซึ่งในการเลือกเราจำเป็นที่จะต้องพิจารณาจากตัวเราเองเป็นหลัก
โดยควรเลือกโบรกเกอร์ที่มีบริการที่ตอบโจทย์หรือช่วยให้การลงทุนของเราสะดวกสบายได้มากยิ่งขึ้น เช่น มีค่าธรรมเนียมไม่แพง มีโปรแกรมที่ใช้งานง่ายไม่ยุ่งยาก รองรับธุรกรรมที่เดินบัญชีจากหลากหลายธนาคาร มีบทความความรู้อัปเดตอยู่เสมอ ไปจนถึงการเปิด IPO หุ้นตัวใหม่บ่อย ๆ นับว่ามีส่วนสำคัญที่จะช่วยเพิ่มโอกาสประสบความสำเร็จในการลงทุนของเราได้ทั้งนั้น
แนะนำ 5 โบรกเกอร์ ยอดนิยม
หลังจากพิจารณาตัวเองแล้วว่าตัวเองอยากได้อะไรจากโบรกเกอร์ที่จะลงทุนด้วย ต่อมาเรามาดูกันว่ามีโบรกเกอร์เจ้าไหนที่น่าสนใจ มีแอปที่ช่วยตอบโจทย์สไตล์การลงทุนของเราบ้าง กับ 7 โบรกเกอร์ ยอดนิยมที่เรานำมาฝาก ดังนี้
บล. ฟินันเซีย ไซรัส

เริ่มต้นที่แรกที่ บล.ฟินันเซีย ไซรัส โบรกเกอร์ที่นักลงทุนส่วนใหญ่วางใจใช้บริการ สมัครง่าย เพียงกรอกข้อมูล 2 ขั้นตอนและยืนยันผ่านระบบ VDO Call ที่สำคัญ Finansia เขามาพร้อมแอปล่าสุดกับ Finansia Hero ที่การันตีมาเลยว่าเปิดพอร์ตไวใน 8 นาที มีฟีเจอร์ให้ใช้ฟรี ไม่มีขั้นต่ำในการฝากเงินเข้าพอร์ต
นอกจากนี้ ยังมีระบบอัปเดตข้อมูล ข่าวสารการลงทุนและความเคลื่อนไหวทางการเงินทั่วโลก พร้อมระบบวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐานทั้งรูปแบบรายวันและรายเดือน พร้อมระบบสแกนหาหุ้นที่ถูกใจตามเงื่อนไข ให้ได้ไปเลือกใช้ในการคัดหุ้นกันแบบง่าย ๆ ได้เลย
บล. เอสบีไอ ไทย ออนไลน์

โบรกเกอร์สัญชาติญี่ปุ่นที่มาแรงมาก ๆ ในวงการนักลงทุนไทย เหมาะอย่างยิ่งโดยเฉพาะกับนักลงทุนมือใหม่ที่กำลังคิดว่าเปิดพอร์ตหุ้นที่ไหนดี เพราะสมัครง่าย สมัครออนไลน์ได้รับการยืนยันตัวตนรวดเร็วทันใจ ที่สำคัญค่าคอมที่ถูกมากเพียง 0.075% แถมไม่มีค่าธรรมเนียมซื้อ – ขาย
นอกจากนี้เขายังอำนวยความสะดวกผู้ใช้งานด้วยระบบ SBITrade AI ที่จะมาช่วยผู้ลงทุนในการแสกนหาหุ้นด้วยปัจจัยพื้นฐานและปัจจัยทางเทคนิค รวมถึงมีบริการเสริมในการแจ้งเตือน แจ้งข่าวสารผู้ลงทุน ให้สามารถเข้าทำกำไรได้ทันใจ ไม่พลาดทุกโอกาสการลงทุน
บล. ไทยพาณิชย์

โบรกเกอร์ธนาคารที่นักลงทุนมากมายให้ความไว้วางใจมาอย่างยาวนาน ซึ่งเขามีแอป SCB Easy Invest ที่บอกเลยว่าครบถ้วนทั้งเรื่องการทำธุรกรรมและการลงทุนที่นอกจากหุ้น ก็ยังมีกองทุนรวม ตราสารหนี้ หลักทรัพย์ทั้งหลาย เผื่อใครสนใจเลือกลงทุนรูปแบบอื่น ๆ อีกด้วย มีบทความวิเคราะห์การลงทุนจากผู้เชี่ยวชาญอัปเดตสม่ำเสมอ
ส่วนการสมัครเพื่อเปิดพอร์ตก็ทำได้แบบง่ายดาย แค่กรอกข้อมูล ตอบคำถามเพื่อประเมินความเสี่ยง รอการยืนยันสักครู่ก็สามารถเริ่มต้นลงทุนกันได้เลย ใครที่มีเงินเดินบัญชีกับ SCB อยู่แล้ว เลือกโบรกเกอร์เจ้านี้ก็นับว่าสะดวกสบายทีเดียว
บล. บัวหลวง

สำหรับบัวหลวง เป็นโบรกเกอร์หุ้นในเครือของธนาคารกรุงเทพ ที่ก็ได้รับความนิยมในหมู่นักลงทุนได้แพ้กัน ในการสมัครทำออนไลน์ได้ ไม่ต้องใช้เอกสารเยอะ สามารถใช้งานเทรดหุ้นได้ด้วยแอป Bualuang Trade Master ได้เลย
โดยนอกจากการลงทุนสะดวกสบายในการซื้อ – ขายหุ้นแล้ว บัวหลวงเขายังเน้นในแง่ของการให้ความรู้แก่นักลงทุน รวมทั้งอัปเดตข่าวสารสำคัญ ๆ ให้แก่ผู้ใช้บริการให้รู้ก่อนใครอยู่เสมอ ในเรื่องของการจัดการเงินในพอร์ตเขาก็มีให้เลือกประเภทบัญชี ทั้งแบบ บัญชีเงินสด, Cash Balance หรือ Credit Balance ให้เลือกจามสไตล์ของนักลงทุนได้เลย
บล. กรุงศรี

มาถึงโบรกเกอร์สุดท้ายกับ บล. กรุงศรี อีกหนึ่งธนาคารชื่อดังของบ้านเรา ก็มีการเปิดให้บริการพอร์ตซื้อ – ขายหุ้นเหมือนกัน สำหรับกรุงศรีจะมีแอป Krungsri Stock Expert ที่ให้เราสามารถสมัครออนไลน์และทำการทดลองใช้ก่อนเข้าสู่ระบบจริงได้
ที่สำคัญเหล่านักลงทุนจะสามารถเข้าถึงการวิเคราะห์หุ้นจากเหล่าผู้เชี่ยวชาญด้านการลงทุนได้แบบ Real-Time พร้อมเครื่องมือ Indicators มากมายมาให้นักลงทุนได้เลือกใช้ หรือจะสแกนหุ้นผ่าน Krungsri Radars ก็ได้ ใครที่มีบัญชีออมทรัพย์กับกรุงศรี เปิดบัญชีกับที่นี่ก็เป็นตัวเลือกที่น่าสนใจทีเดียว
เปรียบเทียบค่าธรรมเนียม
มาถึงอีกหนึ่งปัจจัยที่สำคัญไม่แพ้ใครนั่นก็คือค่าธรรมเนียม มาดูกันซิว่าในแต่ละโบรกเกอร์มีค่าธรรมเนียมซื้อ – ขายที่เท่าไรกันบ้าง ตามตารางด้านล่าง
โบรกเกอร์ | ค่าธรรมเนียมซื้อ – ขายเอง | ค่าธรรมเนียมซื้อขายผ่าน Marketing |
บล. ฟินันเซีย ไซรัส | 0.15% | 0.25% |
บล. เอสบีไอ ไทย ออนไลน์ | 0.075% | 0.25% |
บล. ไทยพาณิชย์ | 0.157% | 0.25% |
บล. บัวหลวง | 0.15% | 0.25% |
บล. กรุงศรี | 0.15% | 0.25% |
*ค่าธรรมเนียมทั้งหมดยังไม่รวม VAT 7% |
และทั้งหมดนี้คือ 5 โบรกเกอร์ที่เราหวังว่าจะเป็นคำตอบให้หลายคนที่กำลังมองหาว่าจะเปิดพอร์ตหุ้นที่ไหนดี ได้นำไปพิจารณากัน ซึ่งที่จริงต้องบอกว่าบ้านเรายังมีโบรกเกอร์อีกหลายเจ้ามากที่เราไม่ได้กล่าวถึงในวันนี้ หากท่านไหนที่ยังไม่ได้โบรกเกอร์ที่โดนใจ ก็ลองนำหลักการเลือกที่เราฝากไว้ไปประกอบการตัดสินใจกับโบรกเกอร์เจ้าอื่น ๆ อีกก็ได้
สิ่งสำคัญอย่างที่บอก คือเราต้องเข้าใจถึงแนวทางการลงทุนรวมทั้งสิ่งที่จะสามารถช่วยอำนวยความสะดวกในการลงทุนให้เราให้ได้ก่อน หลังจากนั้นจึงเลือกโบรกเกอร์เพื่อให้การลงทุนของเราไม่มีสะดุด สามารถคว้าโอกาสในจังหวะที่เหมาะกับการลงทุนได้ทันใจ เพราะถ้าหากเราเลือกโบรกเกอร์คู่ใจได้ ก็จะช่วยให้เราสามารถลงทุนได้อย่างสะดวกสบาย มีโอกาสประสบความสำเร็จในการลงทุนมากขึ้นหลายเท่า !
ชมวิดีโอเพิ่มเติมเกี่ยวกับมือใหม่หัดเล่นหุ้น ที่นี่ : https://www.youtube.com/watch?v=gD0zp8h0ZIs