ในบทความนี้จะพานักลงทุนมือใหม่หรือใครที่ยังไม่รู้จักกับ Derivative Warrant หรือ DW คืออะไร ซึ่งตอนนี้ต้องบอกเลยว่าได้รับความนิยมในหมู่นักลงทุนอย่างมาก หากใครสนใจลองอ่านบทความนี้ที่เราทำมาให้ในแบบฉบับเข้าใจง่ายแล้วนำไปพิจารณาประกอบการลงทุนได้เลย บางทีการลงทุนประเภทนี้อาจจะตอบโจทย์การลงทุนในสไตล์ที่คุณตามหาอยู่ก็ได้
ทำความรู้จัก DW คืออะไร
Derivative Warrant (DW) หรือตราสารอนุพันธ์ เป็นรูปแบบการลงทุนหุ้นชนิดหนึ่งที่ มีราคาปรับตัวขึ้นลงตามราคาหุ้นอ้างอิง หรือที่เรียกกันว่า “หุ้นแม่” ซึ่งจะสามารถทำกำไรได้มากขึ้นทั้งในขาขึ้นและขาลงของตลาด เป็นหนึ่งในตัวเลือกที่นักลงทุนมักใช้ในการบริหารความเสี่ยงหรือเก็งกำไรในระยะสั้น
อ่านเพิ่มเติมเกี่ยวกับอนุพันธ์ โดย SET Investnow ที่นี่
อ่านเพิ่มเติมเกี่ยวกับ วิธีคัดหุ้นเด่น ที่นี่

ประเภทของ DW
- Call DW (C) คือ สิทธิในการ “ซื้อหุ้น” เมื่อราคาปรับตัวขึ้นหรือลงตามหุ้นแม่ เป็นการเก็งกำไรในตลาดขาขึ้น
- Put DW (P) คือ สิทธิในการ “ขายหุ้น” เมื่อราคาปรับตัวขึ้นหรือลงคนละทิศทางกับหุ้นแม่ เป็นการเก็งกำไรในตลาดขาลง
สิ่งที่ควรรู้ก่อนเริ่มลงทุน DW คืออะไร
- เข้าใจสัญลักษณ์ของ DW เช่น UUU(ชื่อหุ้นอ้างอิง) XX(หมายเลขสมาชิกผู้ออก) C (สิทธิซื้อหรือสิทธิขาย) YY (ปีที่หมดอายุ) MM (เดือนที่หมดอายุ) A (รุ่น DW)
- เข้าใจดัชนีในตาราง DW
- อัตราทด (Gearing) คือ อัตราการเปลี่ยนแปลงราคา DW เมื่อราคาหุ้นอ้างอิงเปลี่ยนแปลง 1%
- ค่าความอ่อนไหว (Sensitivity) คือ ค่าที่ถ้าราคาสินค้าอ้างอิงมีการเปลี่ยนแปลงไป 1 ช่อง ราคาของ DW จะมีการปรับตัวกี่ช่อง
- ค่าเสื่อมทางเวลา (Time Decay) เป็นค่าที่บอกว่าใน 1 วัน ราคา DW จะลดลงกี่เปอร์เซนต์
ทำไม DW น่าสนใจในการลงทุน
- ใช้ต้นทุนไม่สูงมาก เงินที่เราต้องจ่ายเพื่อซื้อ DW คิดเป็นสัดส่วนนับว่าน้อยเมื่อเทียบกับเงินที่จะต้องใช้ลงทุนในประเภทอื่น ๆ แต่สามารถทำกำไรได้สูงกว่า
- สามารถเก็งกำไรได้แบบ 2 ทาง ทั้งขาขึ้น ขาลง เพราะ DW มี 2 ประเภททั้ง Call และ Put
- มีโอกาสสร้างผลตอบแทนได้หลายเท่าจากต้นทุน ตามการปรับค่า Gearing
- มีการจำกัดผลขาดทุนสูงสุดเท่ากับมูลค่าที่ซื้อ DW ไป ผู้ลงทุนต้องวาง Margin แต่ไม่มี Margin Call เพื่อรักษาสัญญา

ความเสี่ยงของ DW
- ความเสี่ยงของ DW มีสูง เนื่องจากการเปลี่ยนแปลงของราคา DW มีอัตราทดที่ขึ้นอยู่กับราคาหลักทรัพย์อ้างอิง
- DW มีอายุจำกัด ทำให้เมื่อพ้นระยะเวลาที่กำหนด DW จะหมดอายุไป และจะไม่สามารถซื้อหรือขายได้อีก และราคาของ DW อาจลดลงตามอายุที่เหลือของตราสารที่ลดลงอีกด้วย
- ความเสี่ยงด้านสภาพคล่อง อาจจะไม่สามารถขาย DW ได้ก่อนอายุสัญญา ผู้ถือหุ้นอาจไม่สามารถขาย DW ได้
อยากเริ่มลงทุน DW ทำยังไง
- เปิดบัญชีกับ โบรกเกอร์ ที่มีความน่าเชื่อถือ
- ศึกษาดูหุ้นอ้างอิง ถึงแนวโน้มขาขึ้น-ขาลง แนวรับ แนวต้าน
- สังเกตทิศทางตลาดและวันหมดอายุ DW ให้ดี ไม่ควรเล่นหุ้น DW ที่ใกล้วันหมดอายุ เพราะราคาจะยิ่งลดลง ๆ
- เลือกผู้ออกที่ มีสภาพคล่องดี และมีราคา DW และราคาหุ้นอ้างอิง เป็นไปในทิศทางเดียวกัน

จะเห็นว่า DW ก็เป็นอีกหนึ่งเครื่องมือในการลงทุนที่หากนักลงทุนที่มีความเข้าใจในการลงทุน DW และความรู้ในการตัดสินใจลงทุน เลือกเข้าลงทุนถูกจังหวะก็จะสามารถสร้างผลตอบแทนได้มากทีเดียว หากใครที่อยากเริ่มต้นลงทุน DW แนะนำให้ศึกษาหาข้อมูลเพิ่มเติมถึงความเสี่ยงที่เรารับได้ก่อนตัดสินใจลงทุนด้วย เพราะ DW ก็มีความเสี่ยงในการลงทุนสูงมาก จึงควรศึกษาหาความรู้ให้มาก รวมถึงประเมินความเสี่ยงที่เรารับได้ให้ดีก่อนเริ่มลงทุน