เชื่อว่าหลายคนที่กำลังวางแผนซื้อบ้านหรือต้องการยื่นขอสินเชื่อบ้านนี้อยู่ คงเคยได้ยินกันว่า ดอกเบี้ยบ้าน (Home Loan) ที่ใช้วิธีคิดคำนวณทั้ง อัตราดอกเบี้ยแบบคงที่ (Fixed Rate) และ อัตราดอกเบี้ยแบบลอยตัว (Floating Rate) ก็มักจะอ้างอิงจากอัตรา ดอกเบี้ย กู้ซื้อบ้าน ขั้นต่ำที่ธนาคารคิดจากลูกค้า และมีอักษรย่ออย่าง MRR, MMR และ MLR กับกำอยู่ เราจึงอยากให้ทุกคนศึกษาพร้อมทำความเข้าใจในเรื่องดอกเบี้ย กู้ซื้อบ้าน ก่อนตัดสินใจเลือกกู้ซื้อบ้าน ในอนาคตจะได้ไม่มีปัญหาทางการเงินตามมา
อ่านเกี่ยวกับ การลงทุนอสังหาที่น่าสนใจ ที่นี่
2 ประเภทดอกเบี้ย กู้ซื้อบ้าน

อัตราดอกเบี้ยเงินกู้แบบคงที่ (Fixed Rate)
หมายถึง อัตราดอกเบี้ยที่กำหนดไว้เป็นตัวเลขเฉพาะ ไม่ขึ้นหรือลงตามต้นทุนของสถาบันการเงิน คงที่ตลอดอายุสัญญาเงินกู้หรือในช่วงเวลาที่กำหนด เช่น อัตราดอกเบี้ยคงที่ตลอดอายุสินเชื่อ
อัตราดอกเบี้ยคงที่ในช่วงต้นเท่านั้น หรือ อัตราดอกเบี้ยคงที่แบบขั้นบันไดในช่วงต้น เป็นต้น
อัตราดอกเบี้ยเงินกู้แบบลอยตัว (Floating Rate)
หมายถึง อัตราดอกเบี้ยเงินกู้ที่เปลี่ยนแปลงไปตามต้นทุนของสถาบันการเงิน ซึ่งสถาบันการเงินจะประกาศออกมาเป็นคราว ๆ ไป เช่น อัตราดอกเบี้ยอ้างอิงของสถาบันการเงินหรือธนาคารพาณิชย์ต่าง ๆ เช่น MLR MOR MRR
รู้จัก ดอกเบี้ย กู้ซื้อบ้าน MRR MMR และ MLR

MLR (Minimum Loan Rate)
MLR (Minimum Loan Rate) คือ อัตราดอกเบี้ยเงินกู้ขั้นต่ำ ที่สถาบันการเงินเรียกเก็บกับลูกค้าที่เป็นลูกค้ารายใหญ่ชั้นดี ซึ่งลูกค้ารายใหญ่ชั้นดี หมายถึงลูกค้าที่มีประวัติการเงินดี ไม่เคยผิดนัดชำระหนี้ มีหลักทรัพย์ค้ำประกันที่มากเพียงพอ ซึ่ง MLR เป็นประเภทเงินกู้แบบกำหนดเวลา ซึ่งโดยทั่วไปมักจะใช้กับเงินกู้ระยะยาว เช่น การกู้ซื้อบ้าน กู้ซื้อคอนโดหรือกู้เพื่อประกอบธุรกิจ
MRR (Minimum Retail Rate)
MRR (Minimum Retail Rate) คือ อัตราดอกเบี้ยเงินกู้ขั้นต่ำ ที่สถาบันการเงินเรียกเก็บจากลูกค้ารายย่อยชั้นดี ซึ่งลูกค้ารายย่อยชั้นดี หมายถึง ลูกค้าที่มีประวัติการเงินดี ซึ่ง MRR เป็นประเภทเงินกู้แบบไม่มีกำหนดเวลาหรือจนกว่าหนี้นั้นจะหมดไปนั่นเอง อัตราดอกเบี้ยแบบนี้สถาบันการเงินอนุมัติง่ายกว่าแบบอื่น ในขณะเดียวกันดอกเบี้ยก็มีความผันผวนพอสมควร โดยทั่วไปมักจะใช้กับการกู้ประเภท กู้สินเชื่อส่วนบุคคลหรือกู้ซื้อบ้าน
MOR (Minimum Overdraft Rate)
MOR (Minimum Overdraft Rate) คือ อัตราดอกเบี้ยเงินกู้ขั้นต่ำ ที่สถาบันการเงินเรียกเก็บจากลูกค้ารายใหญ่ชั้นดี ประเภทเงินเบิกเกินบัญชี หรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่าการเบิกเงินเกิน OD (Commercial Overdraft) จึงทำให้ธนาคารจึงต้องเข้มงวดในการพิจารณาผู้กู้ ทั้งคุณสมบัติของผู้กู้ ประวัติทางการเงิน และหลักทรัพย์ประกัน เป็นต้น
อัปเดตอัตราดอกเบี้ยสินเชื่อบ้าน ธนาคารต่าง ๆ
ธนาคาร | อัตราดอกเบี้ย (เฉลี่ย 3 เดือน)(%) | MRR (%) | วงเงินสูงสุด | ระยะเวลากู้ (ปี) |
ธนาคารอาคารสงเคราะห์ | 1.99 | 6.15 | ไม่เกิน 1.5 ล้านบาท | 40 |
ธนาคารกรุงไทย | 3.00 | 6.22 | 100% | 40 |
ธนาคารกรุงเทพ | 4.30 | 5.95 | 70 – 100% | 35 |
ธนาคารกสิกร | 5.90 | 5.97 | 90% | 30 |
ธนาคารไทยธนชาติ | 4.05 | 6.28 | ไม่เกิน 50 ล้านบาท | 35 |
ธนาคารกรุงศรี | 2.55 | 6.05 | 100% | 30 |
ธนาคารออมสิน | 2.30 | 6.24 | ไม่เกิน 5 ล้านบาท | 20 |
ธนาคารซีไอเอ็มบีไทย | 2.49 | 7.35 | 95% | 15 |
ธนาคารยูโอบี | 4.99 | 7.35 | 70 – 80% | 30 |
ธนาคารแลนด์แอนด์เฮ้าส์ | 2.75 | 5.10 | 100% | 40 |
ธนาคารไทยพาณิชย์ | 5.95 | 5.99 | 100% | 30 |