วางแผนภาษี ให้จ่ายอย่างคุ้มค่า มีเงินเหลือเก็บ

วันนี้เราจะพามาทำความเข้าใจในเรื่องของ วางแผนภาษี กับการลดหย่อนภาษีด้วยกองทุน ให้ทุกท่านได้นำไปปรับใช้ในการลดหย่อนภาษีในปีนี้กันในทุก ๆ ปี เพราะเราทุกคนก็ต้องทำหน้าที่ของประชาชนโดยการจ่ายภาษี ซึ่งบ้านเรามีการเรียกเก็บภาษีในอัตราก้าวหน้า เรียกได้ว่ายิ่งมีรายได้เยอะก็ยิ่งต้องเสียภาษีมาก การจ่ายภาษีแบบเต็มเม็ดเต็มหน่วยก็คงจะเป็นเงินไม่ใช่น้อยสำหรับใครหลาย ๆ คน หากมีสิทธิลดหย่อนก็ควรนำมาใช้เพื่อเป็นตัวช่วยในการเซฟเงินภาษีของเราได้เป็นอย่างดี

อ่านเพิ่มเติมเกี่ยวกับ กองทุน ที่นี่

วางแผนภาษี
จ่ายภาษี

ซึ่งรายการลดหย่อนภาษีก็มีหลายหมวดหมู่ กองทุนที่เราสามารถนำมาลดหย่อนภาษีได้จะมีทั้งหมด 2 ประเภท คือกองทุนนรวมเพื่อการออม SSF (Super Savings Fund) และ กองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ RMF (Retirement Mutual Fund) โดยทั้งสองจะมีรายละเอียดเงื่อนไขและสิทธิประโยชน์ในการลดหย่อนแตกต่างกัน ตามรายละเอียด ดังนี้

วางแผนภาษี ด้วย SSF

กองทุนรวมเพื่อการออม (SSF) คือ กองทุนรวมสนับสนุนการออมเงินในระยะยาวควบคู่กับการลงทุน เป็นตัวช่วยในการลดหย่อนภาษีแทนกองทุน LTF ที่หมดอายุไปเมื่อปี 2562
เงื่อนไขในการลดหย่อนภาษี

  • ลงทุนในสินทรัพย์ใดก็ได้ผ่านกองทุน SSF
  • ถือหน่วยลงทุนไม่ต่ำกว่า 10 ปี นับจากวันที่ซื้อ
  • ไม่มีขั้นต่ำในการซื้อและไม่ต้องซื้อต่อเนื่องทุกปี
  • นำหักลดหย่อนภาษีได้ในปี 2563 – 2567 เท่านั้น
    สิทธิประโยชน์ในการลดหย่อนภาษี
  • ใช้ลดหย่อนภาษีสูงสุดไม่เกิน 30% (ลดหย่อนได้ตามฐานอัตราภาษี) ของรายได้พึงประเมินที่ต้องเสียภาษี แต่ไม่เกิน 200,000 บาท
  • เมื่อรวมกับค่าลดหย่อนการออมเพื่อเกษียณอื่น ๆ ต้องไม่เกิน 500,000 บาท
    ตัวอย่าง
    นาย A มีเงินได้เฉลี่ยต่อเดือนที่ 52,000 บาท ต้องเสียภาษีอยู่ที่ 23,900 บาทต่อปี (มีการลดหย่อนส่วนบุคคลแล้ว)
    นาย A ซื้อกองทุน SSF เพิ่ม 100,000 บาท ด้วยฐานอัตราภาษีสูงสุด 10% เขาจะสามารถลดหย่อนภาษีได้ 10% ของเงินที่ซื้อกองทุน นั่นคือ 10,000 บาท
    นาย A จึงเสียภาษีเพียง 23,900 – 10,000 = 13,900 บาท

วางแผนภาษีด้วย RMF

กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ (RMF) คือ กองทุนที่ส่งเสริมการออมเงินไว้ใช้จ่ายยามเกษียณอายุ ลักษณะคล้ายกองทุนบำเหน็จบำนาญและกองทุนสำรองเลี้ยงชีพในบริษัทเอกชน
เงื่อนไขในการลดหย่อนภาษี

  • ลงทุนในสินทรัพย์ใดก็ได้ เช่น หุ้นไทย หุ้นต่างประเทศ ตราสารหนี้ ผ่านกองทุน RMF
  • ถือหน่วยลงทุนไม่น้อยกว่า 5 ปี นับตั้งแต่วันที่ซื้อครั้งแรก และขายได้ก็ต่อเมื่อายุครบ 55 ปี
  • ไม่มีขั้นต่ำในการซื้อ แต่ต้องซื้อต่อเนื่องทุกปี (หรืออย่างน้อยซื้อปีเว้นปี)
  • ใช้สิทธิตามเกณฑ์ใหม่ได้ในปีที่ลงทุน เริ่มปี 2563 เป็นต้นไป

สิทธิประโยชน์ในการลดหย่อนภาษี

  • ใช้ลดหย่อนภาษีสูงสุดไม่เกิน 30% (ลดหย่อนได้ตามฐานอัตราภาษี) ของรายได้พึงประเมินที่ต้องเสียภาษี ไม่เกิน 500,000 บาท
  • เมื่อรวมกับค่าลดหย่อนการออมเพื่อเกษียณอื่น ๆ ต้องไม่เกิน 500,000 บาท

ตัวอย่าง

นาย B มีเงินได้เฉลี่ยต่อเดือนที่ 60,000 บาท ต้องเสียภาษีอยู่ที่ 35,150 บาทต่อปี (มีการลดหย่อนส่วนบุคคลแล้ว)
นาย B ซื้อกองทุน RMF เพิ่ม 200,000 บาท ด้วยฐานอัตราภาษีสูงสุด 10% เขาจะสามารถลดหย่อนภาษีได้ 10% ของเงินที่ซื้อกองทุน นั่นคือ 20,000 บาท
นาย B จึงเสียภาษีเพียง 35,150 – 20,000 = 15,150 บาท

คำนวณภาษี

จะเห็นว่าการซื้อกองทุน SSF หรือ RMF ช่วยให้เราประหยัดภาษีไปได้มากทีเดียว ถ้าหากใครต้องการให้เงินลงทุนเติบโตในระยะยาว แถมยังเป็นตัวช่วยในการลดหย่อนภาษีได้คู่หูกองทุนนี้ก็นับว่าเป็นตัวเลือกที่ตอบโจทย์เลย ยิ่งนำไปลดหย่อนร่วมกับสิทธิอื่น ๆ ที่มีอีก เราอาจจะแทบไม่ต้องเสียภาษีเลยก็ได้นะ เรียกได้ว่าคุ้มค่ากับการลงทุนอย่างมาก อย่างไรก็ตาม ก่อนลงทุนควรเลือกกองทุนที่ลงทุนในสินทรัพย์ที่เรามีความรู้ความเข้าใจ เหมาะกับระดับความเสี่ยงที่เรายอมรับได้ รวมถึงเลือกกองที่มีค่าธรรมเนียมที่เหมาะสมด้วย

อ่านเพิ่มเติมเกี่ยวกับ SSF/RMF ที่นี่